คุณชอบเว็บนี้ระดับใด

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักการพูด

การสื่อสารเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมเพราะนอกเหนือจากความต้องการปัจจัยพื้นฐานในทุกด้านแล้ว  มนุษย์ยังต้องการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องและต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ตลอดเวลาและ  การพูด    ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมหนึ่งของการสื่อสารที่มีความสำคัญยิ่งในสังคมมนุษย์ ความสามารถในการพูดเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลทุกอาชีพ การมีความรู้ความสามารถในการพูด  เป็นคุณสมบัติของผู้นำและนักบริหาร  ยิ่งสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันในการเป็นผู้นำและการประกอบอาชีพ  ก็ยิ่งต้องใช้การพูดอย่างชำนาญ  รู้หลักและวิธีการที่ถูกต้อง  สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  สร้างความสัมพันธ์อันดี  มีทัศนคติที่ดี   มีการโน้มน้าว  จูงใจ   ให้ผู้อื่นคล้อยตาม  
              ปัจจุบันเรื่องของการพูดในประเทศไทยได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย  คนไทยมีการ          ตื่นตัวในเรื่องนี้มากจนกลายเป็นสิ่งแวดล้อมหนึ่งในชีวิต  โดยเฉพาะบุคคลระดับบริหาร  หัวหน้า  หรือผู้นำ  และผู้มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง  ได้ฝึกฝนการพูดตามชมรมสมาคม  ศูนย์และสถาบันการฝึกพูดเป็นจำนวนมาก  การพูดจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  ดังมีผู้กล่าวไว้ว่า                                                                  การพูดเป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟังโดยใช้ภาษาและเสียงเป็นสื่อในการติดต่อกับบุคคลอื่นๆ  ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  การสื่อสารโดยใช้คำพูดเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง  เพราะการพูดที่มีหลักเกณฑ์เท่านั้น  ที่จะทำให้ผู้พูดสามารถดำเนินชีวิตในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  การที่จะพูดให้ได้ดี  พูดให้เป็น  หรือพูดให้เกิดประโยชน์  ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงเนื้อหา  วัตถุประสงค์ของการพูด  และการบรรลุผลของการพูดเป็นสำคัญ  ดังนั้นการพูดที่ดี  ผู้พูดจึงควรคิดและไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจพูดสิ่งใดๆ  ออกไป (นิพนธ์    ทิพย์ศรีนิมิต.  2542  :  25)
ดังนั้น  จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า  การพูดคือกระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยมีภาษาน้ำเสียงและอากัปกิริยาเป็นสื่อการพูดคือการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกโดยใช้ภาษาและเสียงสื่อความหมายการพูด เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีอานุภาพมากที่สุดในโลกการพูด  เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

ความหมายของการพูด
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในปัจจุบันว่า คามสามารถในการพูดเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกอาชีพ  มนุษย์จะต้องอาศัยการพูดเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันและกัน  การพูด  มีผู้ให้ความหมายของคำนี้ไว้หลายทัศนะดังนี้
กองเทพ  เคลือบพณิชกุล  (2542 : 43)  ได้เขียนความหมายของการพูดไว้ว่าการพูด  คือ  การที่มนุษย์เปล่งเสียงเป็นถ้อยคำภาษาออกมา  เพื่อแสดงความรู้  ความคิด  ความรู้สึกหรือความต้องการของผู้พูดไปให้ผู้ฟังได้ยินและเข้าใจ  โดยอาศัยภาษา  น้ำเสียงและอากัปกิริยา  ท่าทางเป็นสื่อและมีความตอบสนองจากผู้ฟัง
จินดา  งามสุทธิ  (2531 : 1)  อธิบายถึงความหมายของการพูดว่าการพูด  คือ  การเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด  เพื่อติดต่อสื่อสารให้เข้าใจกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง  หรือการพูด  คือ  การสื่อความหมายแบบหนึ่งที่เรียกว่า  Oral  Communication  มิได้หมายความว่าเป็นการสื่อความหมายโดยใช้ปากเท่านั้น  แต่เป็นการสื่อความหมาย  โดยการใช้ภาษาเสียง  กิริยาท่าทางต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของผู้พูดให้แก่ผู้ฟังให้ได้ผลตามความมุ่งหมายของผู้พูด
ฉัตรวรุณ  ตันนะรัตน์ (2519  :  21)  ได้กล่าวไว้ว่า การพูด  หมายถึง  พฤติกรรมการสื่อความหมายของมนุษย์โดยอาศัยภาษา  ถ้อยคำน้ำเสียง  ตลอดจนกิริยาท่าทาง  สีหน้า  และสายตา  เพื่อถ่ายทอดอารมณ์  ความรู้สึก  ความรู้  ความคิดของตนแก่ผู้ฟัง  ให้เกิดผลตอบสนองที่ต้องการ
นิพนธ์  ทิพย์ศรีนิมิต (2544 : 29)ให้ความหมายของการพูดดังนี้ การพูด  คือ  กระบวนการถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึก  และประสบการณ์ของผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง  โดยอาศัยถ้อยคำ  น้ำเสียง  และอากัปกิริยาในการสื่อความหมาย
ลักษณา  สตะเวทิน  (2540  :  13)  อธิบายความหมายของการพูดว่า การพูด   เป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์  เพื่อถ่ายทอด  ความคิด  ความรู้สึก  และอารมณ์โดยใช้ภาษา  น้ำเสียงและการแสดงออกเป็นสื่อ
จากคำนิยามดังกล่าวข้างต้น  อาจสรุปความหมายของการพูด ได้ว่า  การพูด  คือ  การใช้ถ้อยคำน้ำเสียงที่เป็นภาษาและการทำกริยาท่าทางประกอบอย่างมีศาสตร์และศิลป์เพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้  ความคิดเห็น  ความรู้สึก  และความต้องการไปยังผู้ฟัง  ให้เกิดผลตอบสนองที่ต้องการ
ความสำคัญของการพูด
การพูดมีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์  เพราะมนุษย์ใช้การพูดเป็นแกนกลางในการทำความเข้าใจ  เพื่ออธิบาย  โน้มน้าวจูงใจ  หรือเพื่อทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นๆการพูด  เป็นเรื่องของการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสื่อความหมาย ที่กล่าวว่า  เป็นศาสตร์ ก็เพราะเป็นวิชาที่หลักเกณฑ์ มีทฤษฎีให้เรียนรู้และถ่ายทอดกันได้ ส่วนที่กล่าวว่า เป็นศิลป์”  ก็เพราะการพูดต้องนำศาสตร์หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้เกิดความไพเราะสวยงามเป็นที่ประทับใจผู้ฟัง  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อถือเกิดศรัทธาและปฏิบัติตาม เนื่องจากการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้ที่รู้จักใช้ศิลปะในการพูดจึงมักจะมีโอกาสสร้างความสำเร็จและความกาวหน้าให้กับตนเองไดอย่างมาก ตรงกันข้ามกับคนที่พูดไม่เป็นหรือพูดไม่ดี  นอกจากคำพูดนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานแล้วยังอาจเป็นการสร้างศัตรูให้กับผู้พูดเองด้วย  ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดเอาไว้เพื่อเป็นสติเตือนใจให้ระลึกอยู่เสมอว่า การพูดนั้น ไม่ใช่ ดีแต่พูด พูดเก่งหรือพูดได้ แต่ควรจะ พูดดี พูดเป็น และพูดให้เกิดประโยชน์ (นิพนธ์  ทิพย์ศรีนิมิต. 2544  :  29)
อิทธิพลของคำพูดสามารถทำให้ผู้พูดประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ มาแล้วจำนวนมากโดยเฉพาะอาชีพด้านการพูด  เช่น ครูอาจารย์  พระสงฆ์  นักการเมือง  นักประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
การพูดดีย่อมถือว่าเป็นคุณสมบัติเด่นที่จะสร้างศรัทธา  ความเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้ฟัง  ในทางพระพุทธศาสนายกย่องการพูดดีว่า วจีสุจริต  หรือ มธุรสวาจา เพราะเป็นการพูดในทางสร้างสรรค์  เป็นการพูดของคนฉลาด  สามารถให้เกิดประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง  ดังสุนทรภู่จินตกวีเอกของไทยได้ประพันธ์กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ในนิราศภูเขาทองว่า
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
ในสุภาษิตสอนหญิงของ  ท่านสุนทรภู่ก็ได้ประพันธ์เน้นความสำคัญของการพูดเอาไว้ตอนหนึ่งว่าจะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ลวนลามไม่ขามใจ
การพูดแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการพูดมีความสำคัญในชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ในการดำรงและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า  ผู้มีความสามารถในการพูดดีย่อมมีความสำเร็จในชีวิตเป็นอย่างดี  การพูดจึงมีความสำคัญนานับปการ การพูดเป็นเครื่องมือในการเข้าสมาคมที่สำคัญของมนุษย์  มนุษย์ใช้การพูดเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อความหมายซึ่งกันและกัน ทำให้มนุษย์สามารถดำรงเป็นชุมชนน้อยใหญ่ ตลอดจนเป็นประเทศอยู่ได้ เพราะคนในสังคมนั้นใช้การพูดสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ความรู้สึกความคิดเห็นและความต้องการ ระหว่างคนกับคนโดยใช้คำพูดซึ่งต้องใช้ประกอบกับกิริยาท่าทาง สีหน้า ดวงตา และการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้การพูดยังเป็นกระบวนการต่อเนื่องคือมีผู้ส่งสาร  มีผู้รับสาร  แล้วต้องมีการพูดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งการสื่อสารก็ไม่เกิดขึ้น   
นิมิต  ทิพย์ศรีนิมิต (2544:32-34) กล่าวถึง ความสำคัญของการพูดทั้งที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อตัวผู้พูด  ต่อผู้ฟังและผู้เกี่ยวข้อง  ต่อการประกอบอาชีพ  ต่อสังคม  และต่อประเทศชาติไว้ดังนี้
1.              การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง
                    เพราะมนุษย์จำเป็นต้องมีการคบหาสมาคมซึ่งกันและกันต้องมีการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา  การเมืองประเพณีวัฒนธรรม  หรือแม้แต่วิถีแห่งการดำเนินชีวิต การเรียนรู้ดังกล่าวต้องใช้ภาษาพูดในการติดต่อเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจซึ่งกันและกัน  อันจะส่งผลให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนารวมทั้งสามารถนำประสบการณ์ต่างๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ดังตัวอย่างบุคคลที่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานหรือรัฐบุรุษคนสำคัญๆของโลก  เช่น  อับราฮัม ลินคอร์น จอร์น เอฟ  เคนเนดี้  หรือ ม...คึกฤทธิ์  ปราโมช  เป็นต้น  บุคคลเหล่านี้ระสบความสำเร็จได้ก็เพราะโด่งดังมาจาก กาพูด ดังคำกล่าวของ  สุขุม นวลสกุล  ที่ว่า  การพูดดีหรือพูเก่งนั้นเป็นสมบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน
                2.   การพูดมีความสำคัญต่อผู้ฟังหรือผู้เกี่ยวข้อง
                      การได้รับรู้หรือได้รับฟังข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์  นอกจากจะทำให้ผู้ฟังหรืผู้เกี่ยวข้องมีความรู้  เกิดความคิดและเกิดความสบายใจแล้ว  ยังอาจนำความรู้ความคิดดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมได้ด้วย  ในทางกลับกันถ้าได้รับรู้รับฟังข้อมูลที่ผิดพลาด อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือนำไปปฏิบัติในทางที่ผิด ซึ่งเท่ากับเป็นการให้โทษแก่ผู้ฟังและผู้เกี่ยวข้องโดยตรง  ดังนั้น ก่อนจะพูดสิ่งใดควรตรึกตรองให้รอบคอบเสียก่อน   ดังคำของ
เดล คาร์เนกี   อย่าพูดจนกว่าท่านจะมั่นใจว่าท่านมีบางอย่างที่จะพูด และรู้ว่าเป็นเรื่องอะไร
3.   การพูดมีความสำคัญต่อการประกอบาชีพ
                       เพราะการพูดเป็นเครื่องมือสื่อสำหรับประกอบอาชีพต่างๆไม่ว่าจะเป็น  แพทย์ พยาบาล  นักธุรกิจ  นักบริหาร  วิศวกร หรือนักการเมือง โดยเฉพาะอาชีพครูซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพูดโดยตรง  ทั้งนี้เพราะอาชีพครูต้องใช้ภาษาพูดเพื่อถ่ายทอดความรู้ความคิดให้แก่ผู้เรียน เพื่ออบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดี  เพื่อสามารถให้ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นหรือกับสังคมภายนอก  การได้เรียนรู้ได้ฝึกฝนเกี่ยวกับกาพูดอยู่เสมอ  จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ของการพูดมากขึ้น โอกาสที่จะสร้างความสำเร็จในการประกอบอาชีพก็จะมีมากขึ้น  ดังคำกล่าวของ    วิจิตร อาวกุล  ที่ว่า  การพูดมิใช่แต่เพียงพูดได้หรือพูดเป็น แต่ต้องพูดให้ได้ดี ถึงระดับ จึงจะใช้ประกอบอาชีพได้
                 4.   การพูดมีความสำคัญต่อสังคม
                       สังคมจะอยู่ได้ก็เพราะสมาชิกของสังคมมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  ความเข้าใจดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสาร เพื่อการดำเนินชีวิต  ประกอบอาชีพ  อบรมสั่งสองปลูกฝั่งประเพณีวัฒนธรรม รวมทั้งแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อกันหากสมาชิกพูดกันไม่เข้าใจ จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งและทำให้สังคมนั้นๆเกิดปัญหาตามมา  การอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลาย จึงต้องระมัดระวังโดยเฉพาะเรื่องของการพูด  ดังคำกล่าวของ เปลื้อง  ณ นคร ที่ว่า  บางพูดดี แต่ไม่น่าฟัง บางคนพูดน่าฟัง แต่ไม่ดี บางคนพูดดีด้วยแล้วน่าฟังด้วย
                  5.   การพูดมีความสำคัญต่อประเทศชาติ
                       ในการบริหารประเทศ    การแถลงนโยบายของรัฐบาลก็ดี    การอภิปรายในรัฐสภา
หรือการให้คำมั่นสัญญาของรัฐมนตรีก็ดี คำเหล่านี้ล้วนแต่ท้าทาย เพื่อการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าผู้พูดมีความสามารถจริงหรือไม่  และคำพูดนั้นๆมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด  เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องการพิสูจน์และรอคอยคำตอบ  ดังนั้นการพูดในระดับประเทศ  ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้คนในภาพรวมผู้พูดจึงระมัดระวังและต้องมีจุดประสงค์ที่แน่นอนอย่างเช่นคำพูดของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี้ ที่ว่า อย่าถามว่ารัฐให้อะไรกับท่านบ้าง  แต่จงถามว่าท่านได้ให้อะไรแก่รัฐบ้าง  เป็นการพูดที่มุงหมายให้ประชาชนรู้จักเสียสละเพื่อประเทศชาติ  หรือการพูดที่ต้องการให้เห็นความสำคัญของชาวนา  ซึ่ง  ม... คึกฤทธิ์  ปราโมช ได้กล่าวว่า ทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของแผ่นดิน”  เป็นต้น  นอกจากชนในชาติจะมีความเข้าใจกันและอยู่รวมกันอย่างสงบเรียบร้อยแล้ว เรายังต้องติดต่อกับต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ในด้านต่างๆหรือเพื่อความร่วมมือต่อกันอีกด้วย  การเจรจาที่ก่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจต่อกันย่อมก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในสิ่งที่มุ่งหวัง  แต่ถ้าการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง  เกิดการเอารัดเอาเปรียบ  หรือมีการแทรกแซงเพื่อบ่อนทำลาย  ประเทศชาติก็จะตกอยู่ในภาวะอันตรายหรือกลายเป็นสงครามในที่สุด  
องค์ประกอบของการพูด
การพูดเป็นกระบวนการสื่อสารที่นับว่าสำคัญที่สุด  เพราะทำให้ผู้พูดกับผู้ฟังเกิดความเข้าใจตรงกัน  ฉัตรสุวรรณ  ตันนะรัตน์(2529:6) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของการพูดว่ามีสวนประกอบดังนี้  
1.  ผู้พูด  (Speakerคือบุคคลที่จะทำให้การพูดประสบความสำเร็จ  ผู้พูดที่ดีนอกจาก
จะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมแล้ว  ต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้  ความคิดไปยังผู้ฟังได้ตรงตามเป้าหมาย  รู้จักใช้ภาษา  น้ำเสียง  และอากัปกิริยาต่างๆเหมาะสมกลมกลืนกับเนื้อหาที่พูดมีความรู้ในหัวข้อที่จะพูด  รวมทั้งรู้จักสังเกตและสามารถเข้าใจถึงปฏิกิริยาของผู้ฟังได้เป็นอย่างดี  นอกเหนือจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้วการเป็นผู้พูดที่ดียังต้องคำนึงถึงคุณสมบัติขั้นพ้นฐานในการเสริมบุคลิกภาพของการพูดด้วย  นั่นคือ   ต้องมีความจริงใจ  มีความเป็นมิตร  และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
2.  ผู้ฟัง  (Audience)  คือผูรับสารอาจหมายถึงบุคคลเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
ผู้ฟังที่ดีจะต้องรู้ว่าผู้พูดพูดถึงเรื่องอะไร สิ่งที่พูดหมายความว่าอย่างไร มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ได้ว่าการพูดครั้งนั้นๆมีความสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด เช่น มีเรื่องใดบ้างที่ผู้พูดมองข้ามไปหรือไม่ได้พูดถึง  เป็นต้น การเป็นผู้ฟังที่ดีอาจยึดหลักปฏิบัติง่ายๆดังนี้คือทำตัวให้สบาย ฟังเขาสาธยายให้ตลอด อย่าอิดออดต้องอดทน ไม่เชื่อคนเพราะอคติ  และเนื่องจากผู้ฟังมีความแตกต่างกันในเรื่องของเพศ  วัย  การศึกษา อาชีพ และอื่นๆอีกมากมาย  ดังนั้น  การพูดที่ดี  ผู้พูดจะต้องวิเคราะห์ผู้ฟังเสียก่อน  ก่อนที่จะถึงเวลาพูด
3.  เนื้อหาสาระ  (Message)  หมายถึง  สารที่ผู้พูดส่งไปยังผู้ฟังโดยผ่านทางประสาท
สัมผัส เนื่องจากการพูดจะบรรลุจุดประสงค์หรือไม่นั้น จะตองขึ้นอยู่กับเนื้อหาของสารและการทำความเข้าใจของผู้ฟังเป็นสำคัญ ดังนั้นการเสนอเนื้อหาในการพูด  ผู้พูดจะต้องคำนึงด้วยว่าเนื้อหาที่พูดนั้นมีความยากง่ายเพียงใด  การพูดเนื้อหาที่ซับซ้อนเกินไป อาจทำให้ผู้ฟังไม่สามารถแปลความคิดของผู้พูดได้ในทางตรงกันข้ามผู้ฟังจะรู้สึกเบื่อหน่าย ถ้าผู้พูดเนื้อหาพื้นๆหรือพูดเรื่องซ้ำๆที่เคยได้ยินอยู่เสมอๆการเสนอเนื้อหาสาระจึงควรพิจารณาเนื้อหาที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสนใจและได้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเป็นเรื่องที่ผู้พูดถนัดและมีความรอบรู้อย่างดีมีข้อมูล  และข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาอ้างหรือมาเสริมให้เกิดความเชื่อถือมากขึ้น
                4.  เครื่องมือในการสื่อความหมาย  (Communication )  หมายถึงสื่อหรือสิ่งที่ช่วยถ่าย
ทอดความรู้ความรู้ความคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟัง  การถ่ายทอดความคิดออกมาในรูปแบบของการพูดนั้น  ผู้พูดจะต้องรู้จักใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่ายๆ  ชัดเจนตรงกับความหมายและตรงกับเรื่องที่ต้องการจะพูด  หากใช้ภาษายากหรือใช้คำพูดที่วกวนจะทำให้สารที่ส่งไปไม่บรรลุวัตถุประสงค์และไม่เกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง
เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบการพูดทั้ง 4 ประการแล้ว  จะเห็นได้ว่า  การพูดจะได้ผลสมความมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบดังกล่าวกล่าวคือ  ถ้าผู้พูดพูดดี  เนื้อหาสาระน่าสนใจเหมาะกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมผู้ฟังตั้งใจและให้ความร่วมมือดี  การพูดก็จะประสบผลตามความมุ่งหมาย แต่ถ้าองค์ประกอบประการใดประการหนึ่งบกพร่องก็จะกลายเป็นอุปสรรค  และทำให้การพูดนั้นล้มเหลวได้ 
วัตถุประสงค์ของการพูด
            การพูดจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ยอมขึ้นอยู่กับการตั้งจุดประสงค์การพูดไว้ให้ชัดเจนว่า การพูดมีหลายประการ
             ฉัตรสุวรรณ  ตันนะรัตน์(2519:5-6) กล่าวถึงจุดประสงค์ของการพูดโดยสรุปว่ามี 5 ประการ  ดังนี้                  
                1.  เพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
                2.  เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี
                3.  เพื่อนำหลักเกณฑ์และกลวิธีการพูดไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการนำเสนอเรื่อง
ต่างๆด้วยรูปแบบต่างๆ
                4.  เพื่อฝึกวิจารณญาณที่ดี
                5.  เพื่อฝึกหลักการเรียนรู้หลักการพูดที่ดี
              สุรีย์มาศ  บุญฤทธิ์รุ่งโรจน์(2538:12) กล่าวถึงความมุ่งหมายของการพูดไว้ 4 ประการ  ดังนี้
                1. การพูดเพื่อให้ความรู้ ความคิด  ความเข้าใจ ผู้พูดต้องการให้ข้อมูลที่เป็นความจริง  มีเหตูผล  อ้างอิง และพิสูจน์ได้  ต้องมีรายละเอียดพอควร  อาจจะมีความคิดเห็นของผู้พูดแทรกลงไปด้วย
                2.   การพูดเพื่อจูงใจ  เป็นการพูดที่ต้องการให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม  เชื่อถือ  อาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงความคิด  หรือการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ
                3.  การพูดเพื่อให้ความบันเทิง  เป็นการพูดเพื่อสร้างความสนุกสนาน  บันเทิงอารมณ์ ผู้พูดจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องที่พูดเป็นอย่างดีและมีศิลปะในการพูดอย่างสูง  มีความเป็นกันเองกับผู้ฟัง  ไม่พูดเรื่องเคร่งเครียดหรือน่าหวาดเสียวมีการใช้โวหารและสำนวนคำคมสร้างความบันเทิงใจแก่ผู้ฟังด้วย
                4.  การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งที่ผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังสนใจและมีความคิดเห็นคล้อยตามเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง  ผู้พูดต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง  ผู้พูดต้องมีกลวิธีการนำเสนอที่ดี   จึงจะสามารถสร้างความเข้าใจและชักจูงใจจากผู้ฟังได้เป็นอย่างดี
            ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการพูดนั้นมีหลายประการนับตั้งแต่การส่งเสริมให้ผู้พูดมีความเป็นประชาธิปไตย  มีความรู้  มีความคิดสร้างสรรค์  มีวิจารณญาณที่ดี  มีหลักการพูดและกลวิธีการพูดที่ดี  ลักษณะของความมุ่งหมายมีทั้งเพื่อให้ความรู้เพื่อจูงใจ  แสดงความคิดเห็น  พูดวิจารณ์แสดงความคิดเห็นและพูดจูงใจ  ความมุ่งหมายของการพูดเป็นไปเพื่อสร้างประสิทธิภาพที่ดีในการนำเสนอเรื่องราวด้วยการพูด

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริการออนไลน์สำหรับการช่วยเหลือเงินกู้ 200,000 ยูโรเพื่อเริ่มต้นครอบครัวของฉันภายใน 24 ชั่วโมงหากคุณสนใจที่จะกู้เงินด่วนในอัตราต่ำติดต่อ Trustloan Online Services ที่: {trustloan88 @ g m a l l. c o m}

    ตอบลบ